กิจกรรมการตระหนักรู้เรื่องร่างกาย
THAI | ไทย
ร่างกายของเราสามารถบอกเราได้ว่าเรารู้สึกอย่างไรด้วยสัญญาณต่าง ๆ เช่น กล้ามเนื้อเกร็งหรือการหายใจเปลี่ยนแปลง บางครั้งสัญญาณเหล่านี้แสดงถึงความรู้สึกทางอารมณ์ ตัวอย่างเช่น รู้สึกหัวใจเต้นแรงเมื่อคุณวิตกกังวล เราสามารถเรียนรู้ที่จะใส่ใจกับสัญญาณเหล่านี้ได้ วิธีนี้เรียกว่า 'การตระหนักรู้เรื่องร่างกาย'
คุณสามารถช่วยลูกของคุณให้พัฒนาการตระหนักรู้เรื่องร่างกายได้ สิ่งนี้สามารถช่วยให้พวกเขาจัดการกับอารมณ์ที่รุนแรงและมุ่งความสนใจไปที่การเรียนรู้ได้
แหล่งข้อมูลนี้มีกิจกรรมเพื่อฝึกการตระหนักรู้เรื่องของร่างกาย เหมาะสำหรับเด็กและเยาวชนทุกคน
กิจกรรมการตระหนักรู้เรื่องร่างกายที่ควรลองทำที่บ้าน
ดาวน์โหลดเอกสารข้อมูลหรือดูวิดีโอรายการใดรายการหนึ่งด้านล่าง
ดาวน์โหลด1. นั่งลง วางมือบนต้นขา
2. ยกมือขึ้นเล็กน้อยแล้วกางนิ้วออกจากกันให้กว้างที่สุดเท่าที่จะทำได้ ค้างไว้ 30 วินาที จากนั้นวางพักไว้ เพื่อให้ผ่อนคลายอีกครั้ง
คุณรู้สึกถึงความแตกต่างในร่างกายของคุณไหมระหว่างที่คุณกางมือออกกับตอนที่มือคุณผ่อนคลาย (ให้นักเรียน ชี้/ให้สัญญาณ/บอก ว่าตรงไหน เมื่อพวกเขารู้สึกบางอย่าง)
3. ตอนนี้เลือกส่วนหนึ่งของร่างกายตามที่นักเรียนระบุ และทำซ้ำข้อ 1. และ 2. โดยเน้นที่ส่วนนั้นของร่างกาย ตัวอย่างเช่น ให้เน้นไปที่เส้นที่เชื่อมต่อบนฝ่ามือของคุณในขณะที่มือของคุณผ่อนคลาย ต่อมาให้กางนิ้วออกจากกันให้กว้างที่สุดเท่าที่จะทำได้ และเน้นไปที่เส้นเชื่อมต่อนั้นว่ารู้สึกอย่างไร
วิดีโอสาธิต
1. นั่งลง วางเท้าราบกับพื้น
2. ตอนนี้กางนิ้วเท้าของคุณออกให้กว้างที่สุดเท่าที่ทำได้ และกางค้างไว้แบบนั้นเป็นเวลา 30 วินาที
3. งอนิ้วเท้าของคุณลงและงอค้างไว้แบบนั้น 30 วินาที
4. พักเท้าให้ราบกับพื้นอีกครั้ง ตอนนี้เท้าของคุณควรจะผ่อนคลาย
คุณรู้สึกถึงกล้ามเนื้อส่วนไหนของคุณตอนที่คุณกางนิ้วเท้าออก และส่วนไหนที่คุณรู้สึกตอนที่คุณงอนิ้วเท้าลง
5. ตอนนี้ทำซ้ำขั้นตอนที่ 1-4 โดยการโฟกัสที่ส่วนใดส่วนหนึ่งของเท้าหรือขาที่คุณรู้สึกถึงกล้ามเนื้อของคุณตอนกาง/งอนิ้วเท้า
วิดีโอสาธิต
1. ยืนขึ้น วางมือราบกับฝาผนังแล้วค้างไว้อย่างนั้น
2. ตอนนี้ดันฝาผนังให้แรงที่สุดเท่าที่จะทำได้เป็นเวลา 30 วินาที
3. หยุดดันและวางแขนไว้ข้างตัว ตอนนี้แขนควรจะผ่อนคลาย
คุณรู้สึกได้ถึงกล้ามเนื้อส่วนไหนตอนคุณดันฝาผนัง
4. ตอนนี้เราจะทำขั้นตอน 1-3 ซ้ำ โดยโฟกัสไปที่กล้ามเนื้อที่คุณรู้สึกได้ในร่างกายตอนดันฝาผนัง
วิดีโอสาธิต
1. ยืนขึ้น วางเท้าข้างหนึ่งไว้ข้างหน้าอีกข้างหนึ่ง โดยให้เท้าทั้งสองหันไปข้างหน้า และขาห่างกันกว้างเท่าช่วงสะโพก เท้าทั้งสองข้างวางราบกับพื้น
2. ตอนนี้ขยับเท้าหน้า เพื่อให้ส้นเท้าแตะพื้นเท่านั้น คุณรู้สึกที่ไหนบ้างไหม คุณอาจรู้สึกว่ากล้ามเนื้อตึงที่หลังน่อง
3. ตอนนี้ให้งุ้มปลายเท้าของเท้าหน้าโดยให้นิ้วเท้าแตะที่พื้นเท่านั้น คุณรู้สึกถึงบางสิ่งที่เท้า และขาของคุณหรือไม่ ความรู้สึกนี้เหมือนหรือแตกต่างกับที่รู้สึกก่อนหน้านี้ไหม
4. วางเท้าของคุณราบไปกับพื้น แล้วเปลี่ยนสลับขาที่อยู่ข้างหน้าจากนั้นทำการแตะส้นเท้าและปลายเท้าซ้ำอีกครั้ง รู้สึกเหมือนกันหรือต่างกันอย่างไร
5. ตอนนี้ทำซ้ำขั้นตอนที่ 1-4 โดยโฟกัสที่ส่วนใดส่วนหนึ่งของเท้าหรือขาที่คุณรู้สึกถึงการยืดของกล้ามเนื้อตอนที่คุณวางส้นเท้า/นิ้วเท้า
วิดีโอสาธิต
1. นอนลงบนที่ว่างบนพื้น วางแขนไว้ข้างลำตัวอย่างผ่อนคลาย คุณสามารถหลับตาได้หากต้องการ หายใจเข้าออก ช้า ๆ
2. ขณะที่หายใจเข้า ย่นหน้าผากและตาให้มากที่สุดเท่าที่ทำได้ จากนั้นหายใจออกให้ผ่อนคลาย
3. ขณะที่หายใจเข้า ให้อ้าปากให้กว้างที่สุดเท่าที่ทำได้ จากนั้นระหว่างหายใจออกให้ผ่อนคลายปากของคุณ
4. หายใจเข้าออกช้า ๆ
5. ขณะที่คุณหายใจเข้า ให้กางนิ้วให้กว้างที่สุดเท่าที่ทำได้ จากนั้นระหว่างหายใจออก ให้ผ่อนคลายปากของคุณ
6. ตอนนี้กางนิ้วและแขนของคุณขณะที่หายใจเข้า กางออกให้มากที่สุด
7. ขณะที่คุณหายใจออก ให้ผ่อนคลายแขนและนิ้วของคุณ
8. ขณะที่คุณหายใจเข้า ให้งอนิ้วเท้าลงเพื่อขยุ้มเท้า จากนั้นผ่อนคลายเท้าขณะที่หายใจออก
9. ตอนนี้ ขณะที่คุณหายใจเข้า ให้ขยุ้มนิ้วเท้า และดึงเท้าเข้าหาลำตัวโดยใช้กล้ามเนื้อขาและผ่อนคลายขณะที่คุณหายใจออก
10. หายใจเข้าและออกอย่างช้า ๆ สักสองถึงสามครั้ง และเมื่อพร้อมแล้วให้หายใจเข้าพร้อมเกร็งใบหน้า มือ แขน เท้า ขา ของคุณ จากนั้นค่อย ๆ หายใจออกและผ่อนคลายกล้ามเนื้อทั้งหมด
11. ผ่อนคลายและหายใจเข้าและออกอย่างช้า ๆ อีกสองถึงสามครั้ง
12. ตอนนี้ทำกิจกรรมนี้ซ้ำ โดยโฟกัสว่าแต่ละส่วนของร่างกายรู้สึกอย่างไร ตอนกางหรือขยุ้มเมื่อเทียบกับความรู้สึกตอนผ่อนคลาย
วิดีโอสาธิต
1. ยืนนิ่ง ๆ มุ่งความสนใจไปที่มือของคุณว่ารู้สึกอย่างไร
2. ตอนนี้ใช้มือแตะแขนของคุณ ตอบได้ไหมว่า แขนของคุณอุ่นหรือเย็นกว่ามือของคุณ
3. ตอนนี้ถูมือของคุณเข้าด้วยกันอย่างรวดเร็วเป็นเวลา 30 วินาที
4. หยุดหลังจากครบ 30 วินาที รู้สึกว่ามือของคุณอุ่นหรือเย็นขึ้นกว่าเดิมไหม ใช้มือแตะแขนของคุณ ตอบได้ไหมว่า แขนของคุณอุ่นหรือเย็นกว่ามือของคุณ
5. ทำซ้ำขั้นตอนที่ 1-4 แต่ในขั้นตอนที่ 4 ให้ใช้มือสัมผัสที่ใบหน้าของคุณแทนที่จะสัมผัสที่แขน
วิดีโอสาธิต
1. ยืนนิ่ง ๆ ให้ความสนใจกับมือของคุณ ใช้มือแตะที่ใบหน้าของคุณ
ใบหน้าของคุณรู้สึกอย่างไร รู้สึกอุ่นหรือเย็นกว่ามือของคุณหรือไม่
2. ตอนนี้ วิ่งเร็ว ๆ อยู่กับที่เป็นเวลาหนึ่งนาที
3. หยุดวิ่งหลังจากครบหนึ่งนาที แล้วเอามือแตะใบหน้า
ใบหน้าของคุณรู้สึกอย่างไรตอนนี้ ใบหน้าของคุณรู้สึกอุ่นหรือเย็นกว่าก่อนหน้านี้ไหม
วิดีโอสาธิต
หมายเหตุ: กิจกรรมนี้ต้องใช้คลิปหนีบกระดาษหนึ่งกล่อง ครึ่งหนึ่งแช่ไว้ในช่องแช่แข็ง
1. แจกคลิปหนีบกระดาษที่เก็บไว้ที่อุณหภูมิห้องให้เด็กหรือวัยรุ่นแต่ละคน
รู้สึกอย่างไรกับคลิปหนีบกระดาษ ร้อน อุ่น เย็น หรือว่าเย็นจัด
2. วางคลิปหนีบกระดาษลง แล้วหยิบคลิปหนีบกระดาษหนึ่งอันออกจากกล่อง (จากช่องแช่แข็ง)
รู้สึกอย่างไรกับคลิปหนีบกระดาษเหล่านี้ ร้อน อุ่น เย็น หรือว่าเย็นจัด
3. ตอนนี้หยิบคลิปหนีบกระดาษอันแรกไว้ในมืออีกข้าง
รู้สึกอุ่นขึ้นหรือเย็นลงกว่าเดิมหรือไม่
วิดีโอสาธิต
หมายเหตุ: กิจกรรมนี้ทำได้ก็ต่อเมื่ออุณหภูมิภายนอกค่อนข้างแตกต่างกับอุณหภูมิภายในห้องเรียน (สามารถทำได้ภายในห้องเรียน โดยปิดเครื่องปรับอากาศหรือเครื่องทำความร้อนแทนการออกไปข้างนอก)
1. ยืนนิ่ง ๆ รับรู้ถึงสัมผัสของอากาศบนผิวของคุณ ร้อน อุ่น เย็น หรือว่าเย็นจัด
2. ลองสังเกตว่ามือและใบหน้าของคุณรู้สึกอย่างไร มือและใบหน้าของคุณรู้สึกถึงอุณหภูมิเดียวกันหรือต่างกันไหม รู้สึกสบายตัวหรือไม่สบายตัวไหม
3. ตอนนี้ออกไปข้างนอกสักครู่ (หรือปิดเครื่องปรับอากาศหรือเครื่องทำความร้อนเป็นเวลา 5 นาที)
4. ยืนนิ่ง ๆ รับรู้ถึงสัมผัสของอากาศบนผิวของคุณ ร้อน อุ่น เย็น หรือว่าเย็นจัด
5. สังเกตว่ามือและใบหน้าของคุณรู้สึกอย่างไรตอนนี้มือและใบหน้าของคุณรู้สึกถึงอุณหภูมิเดียวกันหรือต่างกันหรือไม่ รู้สึกสบายตัวหรือไม่สบายตัวไหม
คุณชอบอุณหภูมิของอากาศแบบไหน
วิดีโอสาธิต
1. นั่งสบาย ๆ บนเก้าอี้ หรือบนพื้น หลับตาของคุณ
2. หายใจเข้าทางจมูก ในขณะที่นับหนึ่งถึงห้าในหัวของคุณ หมายเหตุถึงครู: นับดัง ๆ ในตอนแรกเพื่อช่วยเรื่องความเข้าใจ
3. อ้าปากและหายใจออก ในขณะที่นับหนึ่งถึงห้าในหัวของคุณ
4. ตอนนี้ปิดปาก และหายใจเข้าทางจมูกในขณะที่นับหนึ่งถึงห้า หมายเหตุถึงครู: ช่วยเรื่องความเข้าใจโดยพูดว่า 'หายใจเข้า หนึ่ง สอง สาม สี่ ห้า แล้วอ้าปากและหายใจออก' เด็กเล็ก ๆ ควรเริ่มด้วยการหายใจเข้าและออกโดยนับถึงสาม และหลังจากเริ่มสบายใจในการทำ สามารถยืดออกไปเป็นสี่และห้า
5. หายใจเข้าลึก ๆ ต่อไป นานหนึ่งนาที
คุณรู้สึกอย่างไร ส่วนใดในร่างกายของคุณเคลื่อนไหวเมื่อคุณหายใจเข้า คุณรู้สึกถึงอากาศที่เข้าและออกจากร่างกายของคุณหรือไม่
วิดีโอสาธิต
1. นอนลง ผ่อนคลาย และทำตัวสบาย ๆ หลับตาและปิดปาก วางมือไว้ตรงกลางซี่โครงหรือใต้ซี่โครง อย่ากดแรงเกินไป ปลายนิ้วคว
2. หายใจเข้าลึก ๆ ช้า ๆ ทางจมูก คุณควรรู้สึกว่ามือของคุณยกขึ้น ในขณะที่ปอดของคุณเต็มไปด้วยอากาศ ปลายนิ้วของคุณควรมีช่องว่าง
3. หายใจออกช้า ๆ ทางจมูก และหายใจออกต่อไป คุณควรรู้สึกว่ามือของคุณเคลื่อนกลับลงมาในขณะที่อากาศออกจากปอด และร่างกายกับปอดของคุณขยับลงจนกระทั่งปลายนิ้วของคุณแตะกันอีกครั้ง
4. ให้ฝึกหายใจเข้าและออกเป็นเวลาหนึ่งนาที
คุณรู้สึกไหมว่าร่างกายของคุณกำลังเคลื่อนไหว ถึงแม้ว่าคุณจะเอามือออกจากตรงกระดูกซี่โครงแล้ว
วิดีโอสาธิต
1. นั่งสบาย ๆ บนเก้าอี้หรือบนพื้น ปิดปากและหลับตาของคุณ หายใจเข้าและออกช้า ๆ เบา ๆ ทางจมูก
2. ขณะที่หายใจเข้าและออก ให้โฟกัสกับความรู้สึกที่อากาศผ่านเข้าและออกจากรูจมูกของคุณ หากคุณยังไม่รู้สึกอะไร ให้นึกถึงตำแหน่งที่คุณรู้สึกได้ อาจจะที่ริมฝีปากบนหรือระหว่างริมฝีปากกับรูจมูก
3. เมื่อคุณรู้สึกถึงอากาศที่ผ่านเข้าและออกจากจมูกของคุณ ให้สังเกตดูว่าคุณรู้สึกว่าอากาศเข้าไปลึกแค่ไหน ในจมูกและ/หรือร่างกายของคุณ หากคุณวอกแวก/ฟุ้งซ่าน ให้ดึงความสนใจกลับมาที่การหายใจ ช้า ๆ และเบา ๆ รับรู้ถึงอากาศที่ผ่านเข้าและออกจากจมูกของคุณ
วิดีโอสาธิต
1. นั่งลงบนเก้าอี้หรือบนพื้น แล้ววางนิ้วสองนิ้วไว้บนต้นขา
คุณรู้สึกอย่างไรที่ต้นขาและที่นิ้วของคุณ
2. ตอนนี้กดสองนิ้วลงบนต้นขาของคุณแรง ๆ
3. ทำขั้นตอนที่ 1 และ 2 ซ้ำ โดยโฟกัสไปที่ความรู้สึกของต้นขาต่อการสัมผัสแต่ละประเภท
4. ทำขั้นตอนที่ 1 และ 2 ซ้ำ โดยโฟกัสไปที่ปลายนิ้วและมือของคุณว่ารู้สึกอย่างไรกับการสัมผัสแต่ละประเภท
วิดีโอสาธิต
1. นั่งลงบนเก้าอี้หรือบนพื้น
2. ใช้หนึ่งนิ้วลูบที่แก้มของคุณ
3. ตอนนี้ลูบที่หลังมือของคุณ
ความรู้สึกที่ปลายนิ้วของคุณเหมือนหรือแตกต่างกันไหม
สัมผัสแต่ละครั้งรู้สึกอ่อนโยนไหม
คุณยังรู้สึกอะไรอีกไหม ที่ใบหน้า หรือแขน หรือนิ้วของคุณ หลังการสัมผัสเบา ๆ เหล่านี้
4. ตอนนี้ลากนิ้วของคุณแรง ๆ ไปบนแก้มแล้วลากไปที่หลังมือของคุณ
คุณรู้สึกอย่างไร คุณยังรู้สึกอะไรไหม บนใบหน้า หรือแขน หรือนิ้วของคุณ หลังการสัมผัสแรง ๆ เหล่านี้
วิดีโอสาธิต
1. หาที่ว่างของฝาผนังเพื่อพิง
2. ดันหลังของคุณเข้ากับฝาผนัง แล้วค่อย ๆ เลื่อนตัวลงมา และงอเข่า เข่าของคุณควรทำมุม 90 องศา ท่านี้เรียกว่าการนั่งย่อ
3. ทำท่านี้ค้างไว้ 30 วินาที
คุณรู้สึกตรงส่วนไหนในร่างกาย เมื่อคุณอยู่ในท่านั่งย่อ
4. ทำกิจกรรมนี้ซ้ำ แต่คราวนี้ให้โฟกัสไปที่กล้ามเนื้อต้นขาของคุณ
กล้ามเนื้อต้นขาของคุณรู้สึกอย่างไรในขณะที่ค้างท่านี้ไว้
วิดีโอสาธิต
1. นั่งลงบนพื้น ให้ก้นอยู่บนพื้น ยกขาขึ้นไปในอากาศ ถ้าจำเป็น ให้วางมือบนพื้นเพื่อช่วยพยุงตัวคุณ
2. ตอนนี้ยกขาของเราค้างไว้ในอากาศ 30 วินาที เด็กเล็ก ๆ สามารถเริ่มต้นด้วยการยกค้างไว้เพียง 10 ถึง 15 วินาทีและค่อย ๆ เพิ่มเวลาขึ้น
คุณรู้สึกถึงส่วนไหนของร่างกายตอนคุณยกขาขึ้นไปในอากาศ
3. ตอนนี้ทำกิจกรรมนี้ซ้ำ แต่คราวนี้ให้โฟกัสไปที่ส่วนของร่างกายที่คุณรู้สึกได้ในครั้งแรก
คุณรู้สึกว่า ยืดและตึงมากขึ้น เมื่อทำครั้งที่สองหรือไม่
วิดีโอสาธิต
1. เริ่มต้นด้วยการทำท่าสี่ขา แผ่นหลังของคุณควรแบนราบเหมือนโต๊ะ สายตาควรมองตรงลงไปที่พื้น
2. หายใจเข้าทางจมูก หย่อนท้องลง แล้วค่อย ๆ ยกศีรษะ/คอขึ้น ตามองขึ้นข้างบน นี่คือท่าการเหยียดตัวของวัว
3. ขณะที่คุณหายใจออกทางปาก ให้ยกท้องและกระดูกสันหลังขึ้นเพื่อให้หลังโค้งเหมือนแมว
4. ทำท่าวัวสลับกับท่าแมวเหยียด ห้าถึงสิบครั้ง
คุณรู้สึกถึงส่วนไหนในร่างกาย เมื่อคุณทำการเหยียด
5. ตอนนี้ทำท่าเหยียดแบบแมว/วัวซ้ำอีก แต่คราวนี้โฟกัสไปที่ส่วนของร่างกายที่คุณระบุไว้ในขั้นตอนที่ 4
คุณรู้สึกถึงการเหยียดที่แตกต่างกันที่ไหนไหม ระหว่างการเหยียดแบบแมวเทียบกับการเหยียดแบบวัว คุณสังเกตถึงการเหยียดในจุ
วิดีโอสาธิต
1. เริ่มต้นด้วยการนอนหงายบนพื้น
2. ดึงเข่าข้างหนึ่งเข้ามาที่หน้าอกของคุณ ในขณะที่ขาอีกข้างหนึ่งเหยียดตรง กดแผ่นหลังส่วนล่างไว้กับพื้น
3. ค้างไว้ 30 วินาที
4. สลับขา
คุณรู้สึกตรงส่วนไหนในร่างกาย เมื่อคุณทำการยืดเสร็จแล้ว
5. ทำท่าเหยียดเข่าชิดหน้าอกซ้ำ แต่คราวนี้โฟกัสที่ส่วนของร่างกายที่คุณระบุไว้ในขั้นตอนที่ 4
คุณรู้สึกตรงส่วนไหนในร่างกาย หลังการทำท่าเหยียดเข่าชิดหน้าอกรอบนี้ คุณรู้สึกว่าอยู่ที่เดิมเหมือนกับครั้งที่แล้วหรือที่ใหม่
วิดีโอสาธิต
1. เริ่มต้นด้วยการหยิบหนังสือมาสองเล่ม
2. ยกแขนทั้งสองข้างขึ้นในขณะที่ถือหนังสือไว้ในมือ
3. ทำท่านี้ค้างไว้ 30 วินาที
คุณรู้สึกถึงส่วนไหนในร่างกาย เมื่อเราทำการยืดขึ้น
4. ตอนนี้ทำการยืดไหล่ซ้ำ แต่คราวนี้โฟกัสไปที่ส่วนของร่างกายที่คุณระบุไว้ในขั้นตอนที่ 3
คุณรู้สึกตรงไหนในร่างกาย เวลาที่ยกหนังสือขึ้น คุณรู้สึกว่าอยู่ที่เดิมเหมือนกับครั้งที่แล้วหรือที่ใหม่
วิดีโอสาธิต
1. ในท่านั่งบนพื้น ให้ประกบฝ่าเท้าของคุณเข้าหากันและใช้มือประคองไว้ ตอนนี้ขากำลังทำท่า 'ปีกผีเสื้อ'
2. วางข้อศอกเบา ๆ ตรงระหว่างขาหรือวางไว้บนเข่าของคุณ
3. ค่อย ๆ กดเข่าลง เพื่อเพิ่มการยืด
คุณรู้สึกตรงไหนในร่างกาย เมื่อคุณกดเข่าลง
4. ทำท่ายืดปีกผีเสื้อซ้ำ แต่คราวนี้โฟกัสไปที่ส่วนของร่างกายที่คุณระบุไว้ในขั้นตอนที่ 3
ครั้งนี้คุณรู้สึกตรงไหนในร่างกาย เมื่อทำท่ายืดปีกผีเสื้อ คุณรู้สึกว่าอยู่ที่เดิมเหมือนกับครั้งที่แล้วหรือที่ใหม่
วิดีโอสาธิต
1. เริ่มต้นในท่ายืน
2. วางเท้าซ้ายไปข้างหน้าและวางเท้าขวาไปข้างหลัง ในท่ากำลังจะออกตัว
3. ยกแขนขึ้นและกางแขนตรงออกไปด้านข้างค้างไว้ เรียกว่าท่ายืดตัวเล่นโต้คลื่น ทำท่านี้ค้างไว้ 30 วินาที
คุณรู้สึกถึงส่วนไหนในร่างกาย เมื่อคุณทำท่ายืดตัวเล่นโต้คลื่น
4. ตอนนี้ทำท่ายืดตัวเล่นโต้คลื่นซ้ำ แต่คราวนี้โฟกัสที่ส่วนของร่างกายที่คุณระบุไว้ในขั้นตอนที่ 3
คุณรู้สึกถึงส่วนไหนในร่างกาย เมื่อคุณทำท่ายืดตัวเล่นโต้คลื่น ที่เดิมเหมือนกับครั้งที่แล้วหรือที่ใหม่
วิดีโอสาธิต
1. เริ่มต้นในท่ายืน
2. ยื่นมือออกมาข้างหน้าและประสานนิ้วมือของคุณเข้าด้วยกัน ผลักมือออกและพลิกมือขึ้น
3. ทำท่านี้ค้างไว้ 30 วินาที
คุณรู้สึกที่ส่วนไหนในร่างกาย
4. ตอนนี้ทำท่าหักข้อนิ้วซ้ำ แต่คราวนี้โฟกัสที่ส่วนของร่างกายที่คุณระบุไว้ในขั้นตอนที่ 3
คุณรู้สึกตรงไหนในร่างกาย เวลายืดทำท่าหักข้อนิ้ว คุณรู้สึกว่าอยู่ที่เดิมเหมือนกับครั้งที่แล้วหรือที่ใหม่
วิดีโอสาธิต
1. เริ่มต้นด้วยการนอนคว่ำ ท้องราบบนพื้น วางมือไว้ใต้ไหล่ กดนิ้วเท้าลงบนพื้น
2. ดันตัวของคุณขึ้นจากพื้นและค้างท่านี้ไว้ 30 วินาที หากคุณไม่สามารถทำ 30 วินาทีได้ ก็ไม่เป็นไร ทำนานที่สุดเท่าที่จะทำได้
คุณรู้สึกที่ส่วนไหนในร่างกาย หากปวดหรือเจ็บบริเวณใด ให้สังเกตว่าอาการปวดหรือเจ็บนั้นหยุดลง ตอนที่คุณหยุดทำท่าไม้กระดานอย่างไร
3. ตอนนี้ทำท่าไม้กระดานซ้ำ แต่คราวนี้โฟกัสไปที่ส่วนของร่างกายที่คุณระบุไว้ในขั้นตอนที่ 2
คราวนี้คุณรู้สึกตรงไหนในร่างกาย เมื่อทำท่าไม้กระดาน คุณรู้สึกว่าเป็นที่เดิมหรือเป็นที่ใหม่ หากคุณฝึกท่าไม้กระดานไปเรื่อย ๆ ร่างกายของคุณจะแข็งแรงขึ้น และเมื่อเวลาผ่านไป จะทำได้ง่ายขึ้น อาการปวดเมื่อยก็จะลดลงไปด้วย
วิดีโอสาธิต
1. ยืนตรง คอตั้งตรง เก็บหน้าท้องและสะดือของคุณ กางแขนและขาเป็นรูปดาว
2. หายใจเข้าทางจมูก ขณะที่ค่อยๆ เหยียดแขนข้างหนึ่งขึ้นเหนือศีรษะ เลื่อนแขนอีกข้างหนึ่งลงมาที่ขา
3. ค่อย ๆ เอียงดาวของคุณไปอีกด้านหนึ่งแล้วหายใจออกทางปาก
4. ทำซ้ำทั้งสองข้าง
คุณรู้สึกที่ส่วนไหนในร่างกาย
5. ตอนนี้ทำท่าดาวซ้ำ แต่คราวนี้โฟกัสที่ส่วนของร่างกาย ที่คุณระบุไว้ในขั้นตอนที่ 4
คุณรู้สึกตรงไหนในร่างกาย เวลาเหยียดท่าดาว คุณรู้สึกว่าเป็นที่เดิมหรือเป็นที่ใหม่
วิดีโอสาธิต
1. เริ่มต้นด้วยการยืนขึ้น วางมือของคุณไว้ข้างลำตัว วางมือทั้งสองข้างไว้ที่ด้านขวาของร่างกาย
2. เหวี่ยงมือขวาไปด้านหลังและมือซ้ายไปด้านหน้า เหวี่ยงมือกลับมาและเหวี่ยงข้ามไปอีกข้างของร่างกาย
3. เหวี่ยงมือซ้ายไปด้านหลังและมือขวาไปด้านหน้าของร่างกาย
4. ทำซ้ำ ๆ แบบนี้เป็นเวลา 30 วินาที
คุณรู้สึกที่ส่วนไหนในร่างกาย
5. ตอนนี้ทำท่าใช้ไหมขัดฟันซ้ำ แต่คราวนี้โฟกัสที่ส่วนของร่างกายที่คุณระบุไว้ในขั้นตอนที่ 4
มีความรู้สึกตรงไหนบ้างในร่างกาย เวลาที่คุณทำท่าใช้ไหมขัดฟัน คุณรู้สึกว่าเป็นที่เดิมหรือเป็นที่ใหม่
วิดีโอสาธิต
1. ยืนตัวตรง ยกแขนทั้งสองข้างขึ้นและเอื้อมให้สูงที่สุดเท่าที่ทำได้
2. แสร้งทำเป็นว่าคุณเป็นยีราฟที่กำลังยืดคอยาวขึ้นไปบนฟ้า
3. ยืดค้างไว้ 30 วินาที
คุณรู้สึกที่ส่วนไหนในร่างกาย
4. ตอนนี้ทำท่ายืดตัวแบบยีราฟซ้ำ แต่คราวนี้โฟกัสที่ส่วนของร่างกายที่คุณระบุไว้ในขั้นตอนที่ 3
คุณรู้สึกตรงไหนในร่างกาย เวลาทำท่ายืดตัวแบบยีราฟ คุณรู้สึกว่าเป็นที่เดิมหรือเป็นที่ใหม่
วิดีโอสาธิต
1. นั่งลงบนพื้น ประสานมือไว้ใต้เข่า
2. เอนไปข้างหลัง และโยกตัวไปข้างหน้าและข้างหลัง
3. ให้โยกเบา ๆ 30 วินาที
คุณรู้สึกว่าร่างกาย สัมผัสพื้นที่ไหน ชี้ไปที่ส่วนนั้นของร่างกาย
4. ตอนนี้ทำกิจกรรมนี้ซ้ำ แต่คราวนี้โยกไปด้านข้างแทน
รู้สึกแตกต่างไหม
คุณสังเกตไหม ร่างกายส่วนไหนที่แตะพื้น เมื่อคุณโยกตัวไปด้านข้าง
5. ตอนนี้คุณเลือกที่จะโยกไปข้างหน้า ข้างหลัง หรือด้านข้างก็ได้ โฟกัสกับความรู้สึกของร่างกายตอนกำลังโยกตัว
วิดีโอสาธิต
1. สำหรับกิจกรรมนี้ ให้ยืนขึ้นหรือนั่งบนเก้าอี้ก็ได้
2. ขั้นแรก ค่อย ๆ เอียงศีรษะจากข้างหนึ่งไปข้างหนึ่งสามครั้ง เอียงไปด้านหนึ่งของร่างกาย แล้วค่อย ๆ เอียงไปทางอีกด้านหนึ่งของร่างกาย
3. ตอนนี้หันศีรษะของคุณจากด้านหนึ่งไปอีกด้านหนึ่งสามครั้ง ค่อย ๆ หันศีรษะไปทางซ้าย หันกลับมาตรงกลาง จากนั้นหันศีรษะไปทางขวา
คุณรู้สึกได้ที่ไหนในร่างกายของคุณ
4. ตอนนี้ทำกิจกรรมซ้ำ แต่คราวนี้โฟกัสที่ส่วนของร่างกายที่คุณระบุไว้ในขั้นตอนที่ 3
ครั้งนี้คุณรู้สึกตรงไหนในร่างกาย คุณรู้สึกว่าอยู่ในที่เดียวกันหรือที่อื่น
วิดีโอสาธิต
1. หาคู่และนั่งบนพื้นโดยหันหน้าเข้าหาคู่ของคุณ
2. เริ่มร้องเพลง 'พาย พาย พาย เรือน้อย' กับคู่ของคุณ
พาย พาย พาย เรือน้อย
ลอยอยู่กลางทะเล
พายุพัด คลื่นซัดสาด
ลอยเรือ กลางทะเล
3. ขณะที่คุณร้องเพลง ให้ยกมือทั้งคู่ขึ้นประกบกับมือของคู่ของคุณ งอเข่าเล็กน้อย
4. ดันมือของคุณไปที่คู่ของคุณในขณะที่คุณโยกตัวไปข้างหลังและไปข้างหน้าใน 'ท่าพายเรือ'
คุณรู้สึกถึงส่วนไหนในร่างกาย ขณะที่คุณพายเรือ
5. ทำท่าพายเรือกับคู่ของคุณซ้ำ แต่คราวนี้โฟกัสไปที่ส่วนของร่างกายที่คุณระบุไว้ในขั้นตอนที่ 4
ครั้งนี้คุณรู้สึกถึงส่วนไหนในร่างกาย ขณะพายเรือกับคู่ของคุณ คุณรู้สึกว่าเป็นที่เดิมหรือเป็นที่ใหม่
วิดีโอสาธิต
1. เริ่มต้นด้วยการนอนราบกับพื้น วางมือข้างลำตัว
2. เกร็งและคลายกล้ามเนื้อแต่ละกลุ่มเป็นเวลาสองถึงสามวินาที ขณะเดียวกัน หายใจเข้าลึก ๆ ช้า ๆ ทางจมูกและออกทางปาก
3. เริ่มที่เท้าและนิ้วเท้าของคุณ เกร็งแล้วผ่อนคลาย
4. เลื่อนขึ้นไปที่หัวเข่าและต้นขาของคุณ เกร็งแล้วผ่อนคลาย
5. เลื่อนไปที่ท้องของคุณ เกร็งแล้วผ่อนคลาย
6. กำมือของคุณ เกร็งแล้วผ่อนคลาย
7. เลื่อนขึ้นไปที่แขนของคุณ เกร็งแล้วผ่อนคลาย
8. เลื่อนขึ้นไปที่ไหล่ของคุณ เกร็งแล้วผ่อนคลาย
9. เลื่อนขึ้นไปที่ใบหน้าของคุณ เกร็งแล้วผ่อนคลาย
10. ตอนนี้ให้ทำกิจกรรมซ้ำโดยโฟกัสว่า ร่างกายแต่ละส่วนรู้สึกอย่างไรตอนเกร็งเมื่อเทียบกับตอนผ่อนคลาย
ส่วนใดของร่างกายที่รู้สึกแตกต่างกันมากที่สุด ตอนเกร็ง เมื่อเทียบกับตอนผ่อนคลาย
วิดีโอสาธิต
1. เริ่มต้นในท่ายืน วางมือทั้งสองข้างที่ข้างลำตัว
2. หายใจเข้าลึก ๆ ทางจมูก ขณะที่ทำ ให้ยกแขนขึ้นเหนือศีรษะโดยทำเป็นรูปรุ้ง
3. ขณะที่หายใจออกทางปาก ให้ขยับแขนกลับไปด้านข้าง
คุณรู้สึกที่ส่วนไหนในร่างกาย
4. ทำกิจกรรมซ้ำ แต่คราวนี้โฟกัสไปที่การหายใจเข้าทางจมูกและออกทางปาก
คุณสังเกตเห็นการเปลี่ยนแปลงอะไรในร่างกาย หลังจากโฟกัสอยู่กับการหายใจ
วิดีโอสาธิต
1. เริ่มด้วยการนั่งขัดสมาธิบนพื้นหรือบนเก้าอี้ ยกมือขึ้นมาที่ปาก โดยจินตนาการว่ากำลังถือลูกโป่งอยู่
2. หายใจเข้าทางจมูกลึก ๆ แล้วค่อย ๆ เป่าลมออกทางปากของคุณ
3. ค่อย ๆ ทำมือให้กว้างขึ้น ราวกับว่าคุณกำลังเป่าลูกโป่งอยู่
คุณรู้สึกที่ส่วนไหนในร่างกาย
4. ทำกิจกรรมซ้ำ แต่คราวนี้โฟกัสไปที่การหายใจเข้าทางจมูกและออกทางปาก
คุณสังเกตเห็นการเปลี่ยนแปลงอะไรในร่างกาย หลังจากโฟกัสอยู่กับการหายใจ
วิดีโอสาธิต
1. หาคู่ แล้วนั่งลงบนพื้น นั่งขัดสมาธิหลังชนกัน นั่งยืดตัวตรงและหลับตาได้ถ้าคุณต้องการ
2. เริ่มหายใจเข้าทางจมูกและออกทางปาก
คุณรู้สึกที่ส่วนไหนในร่างกาย
3. ทำกิจกรรมซ้ำ แต่คราวนี้โฟกัสไปที่การประสานลมหายใจของคุณกับคู่ของคุณ โดยรับรู้การเคลื่อนไหวที่หลังของคุณ จากการหายใจของคู่ของคุณ
คุณสังเกตเห็นการเปลี่ยนแปลงอะไรในร่างกาย หลังจากโฟกัสกับการพยายามหายใจให้ตรงกับการหายใจของคู่ของคุณ
วิดีโอสาธิต
1. หาที่ว่างในห้องแล้วยืนขึ้น
2. หายใจเข้าลึก ๆ ทางจมูกและออกทางปาก ทำแล้ว ให้ก้าวไปข้างหน้าหนึ่งก้าว
3. ทำซ้ำอีก 9 ครั้ง
หากเดินขึ้นบันได จะหายใจได้ง่ายแบบนี้ไหม
4. ทำกิจกรรมซ้ำ โดยโฟกัสที่การหายใจเข้าทางจมูกและออกทางปาก
คุณสังเกตเห็นการเปลี่ยนแปลงอะไรในร่างกาย หลังจากโฟกัสอยู่กับการหายใจ
วิดีโอสาธิต
หัวใจของคุณเป็นเครื่องสูบน้ำ ที่สูบฉีดเลือดไปทั่วร่างกาย ผ่านทางหลอดเลือดแดง เมื่อหลอดเลือดแดงอยู่ใกล้กับผิวหนัง คุณจะรู้สึกได้ถึงเลือดที่เคลื่อนตัว การเคลื่อนตัวของเลือดของคุณนี้เรียกว่า ชีพจรของคุณ คุณสามารถรู้สึกถึงชีพจรของคุณได้ในหลาย ๆ จุด โดยใช้ปลายนิ้วสัมผัสหลอดเลือดแดงบนผิวหนังเบา ๆ คุณสามารถนับชีพจรเพื่อดูว่าหัวใจของคุณเต้นเร็วแค่ไหน เรียกว่าอัตราการเต้นของหัวใจ ตำแหน่งที่ง่ายที่สุดในการจับชีพจรคือที่ข้อมือ
1. นั่งลงและวางมือบนขา ยกนิ้วโป้งขึ้นในอากาศและหงายฝ่ามือขึ้น
2. ใช้สองนิ้วแรกของมืออีกข้างหนึ่ง ลากจากด้านบนของนิ้วหัวแม่มือลงมาทางด้านข้างจนกระทั่งถึงข้อมือ
3. เลื่อนนิ้วอย่างช้า ๆ ไปที่ด้านในของข้อมือ และค่อย ๆ คลำหาชีพจรของคุณ
4. เมื่อคุณพบชีพจร นับจำนวนชีพจรของคุณ ในเวลา 15 วินาที
5. ชีพจรของคุณเป็นอย่างไร เร็วหรือช้า แรงหรืออ่อน
(นักเรียนที่ทำได้ สามารถนำจำนวนที่นับได้ ไปคูณสี่ จะได้อัตราการเต้นของหัวใจต่อนาที)
วิดีโอสาธิต
1. ในท่ายืนหรือนั่ง ให้จับชีพจรที่คอหรือข้อมือ บันทึกชีพจรของคุณเป็นเวลาหนึ่งนาที
2. นอนราบทำท่าไม้กระดานโดยให้มือและเท้าอยู่บนพื้นและลำตัวตรง
3. ดึงเข่าข้างหนึ่งขึ้นมาที่หน้าอก ในขณะที่อยู่ในท่าไม้กระดาน
4. ตอนนี้สลับเข่า ทำสลับกัน ดึงเข่าไปทางขวา-ซ้าย ขวา-ซ้าย เพื่อทำท่า 'วิ่ง' ท่านี้เรียกว่า 'นักปีนเขา' ทำเช่นนี้เป็นเวลาหนึ่งนาที
5. ยืนขึ้นและจับชีพจรที่คอหรือข้อมือ บันทึกชีพจรของคุณเป็นเวลาหนึ่งนาที (นักเรียนอายุน้อยที่ไม่สามารถนับได้อย่างแม่นยำ อาจใช้นาฬิกาอัจฉริยะหรือเครื่องวัดค่าความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือดสำหรับกิจกรรมนี้ หรือแนะนำให้สังเกตชีพจร เช่น แรง/เบา เร็ว/ช้า เป็นต้น)
คุณสังเกตเห็นอะไรเกี่ยวกับชีพจรของคุณ หลังทำกิจกรรมปีนเขา เทียบกับก่อนทำกิจกรรม คุณรู้สึกถึงความแตกต่างไหม รู้สึกว่าชีพจรเต้นเร็วขึ้นหรือไม่
วิดีโอสาธิต
1. ในท่ายืนหรือนั่ง ให้จับชีพจรที่คอหรือข้อมือ บันทึกชีพจรของคุณเป็นเวลาหนึ่งนาที
2. ยืนตรงโดยให้เท้าห่างกว่าความกว้างของสะโพก ปลายเท้าหันออกเล็กน้อย ย่อตัวนั่งลงในท่ากบ วางมือบนพื้นระหว่างขา
3. ดีดตัวจากท่าที่ขางออยู่ เหวี่ยงแขนขึ้นไปในอากาศ ทำท่ากระโดดกบซ้ำเป็นเวลา 30 วินาที
4. ยืนขึ้นและจับชีพจรที่คอหรือข้อมือ บันทึกชีพจรของคุณเป็นเวลาหนึ่งนาที (นักเรียนอายุน้อย ที่ไม่สามารถนับได้อย่างแม่นยำอาจใช้นาฬิกาอัจฉริยะหรือเครื่องวัดค่าความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือดสำหรับกิจกรรมนี้ หรือแนะนำให้สังเกตชีพจร เช่น แรง/เบา เร็ว/ช้า เป็นต้น)
คุณสังเกตเห็นอะไรเกี่ยวกับชีพจรของคุณหลังการทำท่ากระโดดกบเทียบกับชีพจรของคุณก่อนทำกิจกรรม การเต้นของชีพจรแ
วิดีโอสาธิต
1. ในท่ายืนหรือนั่ง ให้จับชีพจรที่คอหรือข้อมือ บันทึกชีพจรของคุณเป็นเวลาหนึ่งนาที
2. ยืนเท้าชิดกัน งอเข่าเล็กน้อย วางแขนไว้ข้างลำตัว
3. กระโดดขึ้น ยกแขนและแยกขากางออกไปด้านข้าง ตอนกระโดดลงถึงพื้น กางขาออกและแขนยังอยู่เหนือศีรษะ
4. กระโดดตบซ้ำเป็นเวลา 30 วินาที
5. ยืนขึ้นและจับชีพจรที่คอหรือข้อมือ บันทึกชีพจรของคุณเป็นเวลาหนึ่งนาที (นักเรียนอายุน้อย ที่ไม่สามารถนับได้อย่างแม่นยำอาจใช้นาฬิกาอัจฉริยะหรือเครื่องวัดค่าความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือดสำหรับกิจกรรมนี้ หรือแนะนำให้สังเกตชีพจร เช่น แรง/เบา เร็ว/ช้า เป็นต้น)
คุณสังเกตเห็นอะไรเกี่ยวกับชีพจรของคุณหลังจากกระโดดตบเสร็จแล้ว เทียบกับชีพจรของคุณก่อนทำกิจกรรม การเต้นของชีพจรแตกต่างกันไหมและเร็วขึ้นหรือไม่
วิดีโอสาธิต
1. เตรียมภาพโครงร่างของร่างกายที่วาดบนกระดาษเปล่าให้นักเรียน
2. หลังจากกลับเข้ามาข้างในแล้ว ขอให้นักเรียนนั่งและสังเกตว่าส่วนไหนในร่างกายที่พวกเขารู้สึกว่าร้อนขึ้น
3. ขอให้นักเรียนแต่ละคนวงกลมบนภาพโครงร่างของร่างกายที่พวกเขาสังเกตเห็นความร้อน ตัวอย่างเช่น พวกเขาอาจรู้สึกว่า ใบหน้าร้อน หรือใต้วงแขน ร้อนและมีเหงื่อออก
4. ขอให้นักเรียนแบ่งปันว่าพวกเขาสังเกตเห็นความร้อนที่ไหน
แลกเปลี่ยนกันเกี่ยวกับกลยุทธ์ที่พวกเขาสามารถใช้เพื่อทำให้เย็นลง ตัวอย่างเช่น ถอดเสื้อคลุมออก ดื่มน้ำ เปิดเครื่องปรับอากาศ
อาจเป็นประโยชน์ ถ้าจะใช้กระจกเพื่อดูสัญญาณทางร่างกายของนักเรียน ตัวอย่างเช่น ใช้กระจกเพื่อแสดงให้นักเรียนเห็นว่าใบหน้าของพวกเขาแดง บวม และมีเหงื่อออก สัญญาณของร่างกายเหล่านี้แสดงว่าร่างกายร้อนและจำเป็นต้องทำให้เย็นลง
กระทรวงศึกษาธิการของรัฐบาลออสเตรเลียให้ทุนสนับสนุนโครงการนี้ เริ่มสร้างจากชุดอุปกรณ์ที่เรียกว่า 'Ready to Learn' ซึ่งสร้างและทดสอบโดย Dr. Emma Goodall สำหรับกระทรวงศึกษาธิการของรัฐเซาท์ออสเตรเลีย เป้าหมายคือการช่วยให้ครูและครอบครัวสอนเด็ก ๆ ให้ควบคุมอารมณ์ของตนเอง งานวิจัยของดร. Goodall ชี้ให้เห็นว่าการทำกิจกรรมเหล่านี้สามารถช่วยให้เด็ก ๆ รู้สึกดีขึ้น และลดพฤติกรรมที่อาจทำให้พวกเขาเดือดร้อนที่โรงเรียนได้